เมนู

อรรถกถากุสลกถา



ว่าด้วย กุสล



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องกุศล. ในเรื่องนั้น กุศลเป็นธรรมไม่มีโทษด้วย
เป็นธรรมมีผลที่น่าปรารถนาด้วย ทั้งเป็นธรรมที่ไม่ประกอบด้วยกิเลส
จึงชื่อว่าเป็นธรรมหาโทษมิได้ โดยนัยนี้ บุคคลเว้นอกุศลเสียแล้วชื่อว่า
ย่อมเสพธรรมทั้งปวงอันไม่มีโทษ. กุศลชื่อว่าผลที่น่าปรารถนา คือเป็น
บุญอันให้ความสำเร็จซึ่งอิฏฐผลในความเป็นไปแห่งความเกิดขึ้นในภพ
ต่อไป โดยนัยนี้ บุคคลย่อมเสพธรรมอันเป็นบทต้นนั่นแหละในกุศลติกะ1.
ก็ชนเหล่าใดไม่ถือเอาวิภาคนี้ มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลาย
ว่า พระนิพพานเป็นกุศล ด้วยเหตุเพียงความเป็นธรรมไม่มีโทษเท่านั้น
ดังนี้ คำถามของสกวาทีเพื่อแสดงซึ่งความที่พระนิพพานไม่เป็นกุศล
ด้วยอรรถว่าเป็นอิฏฐวิบาก. คำตอบรับรองเป็นของปรวาที ด้วยอำนาจ
ลัทธิของตน. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น เพราะความมีนัยเช่นกับ
ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง ดังนี้แล.
อรรถกถากุสลกถา จบ

1. บทต้นแห่งกุสลติกะ ได้แก่ กุสลา ธัมมา แปลว่าสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลมีอยู่.

อัจจันตนิยามกถา



[1792] สกวาที ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลทำมาตุฆาตเป็นแน่นอนโดยส่วนเดียว บุคคล
ผู้ทำปิตุฆาต ฯลฯ บุคคลผู้ทำอรหันตฆาต ฯลฯ บุคคลทำโลหิตุปบาท
บุคคลผู้ทำสังฆเภท เป็นผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิจิกิจฉา พึงเกิดแก่บุคคลแน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า วิจิกิจฉา พึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วน
เดียว ก็ต้องไม่กล่าวว่า ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว.
[1793] ส. วิจิกิจฉา ไม่พึงเกิดแก่บุคคลแน่นอนโดยส่วนเดียว
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ละวิจิกิจฉาได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ละวิจิกิจฉาได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ